วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561
จากการอบรม สามารถสรุปองค์ความรู้ตามประเด็น/หัวข้อได้ ดังนี้
การอบรมโครงการพัฒนาครูแบบครบวงจร
หลักสูตร การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมสู่การพัฒนาวิชาชีพครู
โดยใช้กระบวนการ PLC สำหรับครูมัธยมศึกษาตอนปลาย
รหัสหลักสูตร 614181021-003 วันที่ 29-30 กรกฎาคม 2561
ณ โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่อาทิตย์ ที่ 29 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561
ประธานในพิธี : ผอ.สมชัย วิบูลย์กิจ อดีตผอ สพม.16
ประเด็น/หัวข้อ บรรยายพิเศษ ช่วงเช้า เวลา 09.00-10.00 น.
- การปรับตัวของข้าราชการครูให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน
- การทำผลงานเพื่อความก้าวหน้าของข้าราชการครู
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำ PLC
- ความรู้เกี่ยวกับ Logbook
- การนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวแล้วนำมาใช้ทำ PLC เพื่อพัฒนาผู้เรียน ผู้ร่วม PLC ต้องเปิดใจในการรับฟังและการนำไปประยุกต์ใช้
- ประสบการณ์ของผู้รู้ที่เคยผ่านประสบการณ์นั้นๆ จะเป็นบทเรียนให้ผู้ที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์เหล่านั้นมา
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ว22/2560
- การตั้งเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน ครูต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถให้มากที่สุดเพื่อจะได้พัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย และเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของครูต่อไป
- การถอดบทเรียนกรณีจากการช่วยเหลือหมูป่าอเคเดมี่ ด้วยทีมผู้ช่วยเหลือจากหลายๆฝ่ายและแต่ละคนมีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน แต่ละคนร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือ
- ถ้ายังไม่เก่งพอ ต้องพัฒนาตนเองขึ้น พัฒนาขึ้น ไม่มีใครเก่งหมดทุกเรื่อง ต้องร่วมกัน PLC เพื่อรับความรู้ใหม่ๆ นำไปพัฒนาการศึกษาไทย
ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรม
1. ครูสามารถดาวน์โหลดเอกสารในเว็บไซต์โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยและนำเอกสารไปใช้หรือเผยแพร่ได้
2. ทางหน่วยการอบรมรับผิดชอบค่าลงทะเบียนทั้งหมด : กรณีที่ครูยืมเงินจากเขตพื้นที่แล้วให้ทำเรื่องนำเงินไปคืนเขตพื้นที่
3. ครูทุกคนต้องอบรมตามจำนวนชั่วโมงการอบรมและมีการติดตามผลการทำ PLC ดังนี้
- 2 เดือนหลังจากอบรม ครูรายงานผลการพัฒนา(ตามแบบที่กำหนด)
- 4 เดือนหลังจากอบรม พบกลุ่มครู/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกลุ่ม PLC
- 6 เดือนหลังจากอบรม ครูรายงานผลการพัฒนานวัตกรรม และจะมีการจัดแสดงผลงานของแต่ละกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวลาและสถานที่พบนัดหมายอีกครั้ง
- 8 เดือนหลังจากอบรม คัดเลือกนวัตกรรมดีเด่นตามกลุ่ม PLC
- 12 เดือนหลังจากอบรม จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. ครูทุกคนเข้าร่วมกลุ่ม PLC แต่ละกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติทำชุมชนการเรียนรู้
วันที่อาทิตย์ ที่ 29 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ช่วงเช้า เวลา 10.00-12.00 น.
วิทยากร : ดร.วิวัฒน์ ประสานสุข
“จุดประกายด้วยความคิด พิชิตด้วยการกระทำ แล้วนำไปพัฒนา”
“ สังคมเปลี่ยนเราต้องขยับ โลกขยับเราต้องเปลี่ยน ”
เนื้อหาสาระโดยสังเขป ประเด็น/หัวข้อ
1. ทบทวนความรู้เดิมการวิเคราะห์หลักสูตร/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
- ทำไมต้องวิเคราะห์หลักสูตร / วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัดและสาระแกนกลาง
- ทำไมต้องเรียน - เรียนรู้อะไร - สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ - คุณภาพผู้เรียน
- ตัวชี้วัด มี 2 อย่าง คือ 1) ตัวชี้วัดต้องรู้ 2) ตัวชี้วัดควรรู้
- สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ด้าน คือ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ข้อ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ระดับพฤติกรรมทางสติปัญญาของบลูม (Bloom Taxonomy) มีการปรับปรุงใหม่แล้ว เน้นการคิดขั้นสูง สร้างสรรค์
- กรวยประสบการณ์ของ เอ็ด การ์เดล
- กิจกรรม PLC จะต้องปรากฏในแผนการจัดการเรียนรู้
- การทำแผนจัดการเรียนรู้ ตามหัวข้อ
1. มาตรฐานการเรียนรู้
2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
3. สาระการเรียนรู้
4. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
5. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
6. การวัดและประเมินผล
7. บันทึกผลการตรวจ/นิเทศ/ข้อเสนอของหัวหน้า/รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้.........
8. ผลการจัดเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน
2. ให้ทำกิจกรรมที่ 1 การวิเคราะห์หลักสูตร/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ใบงานที่ 1-4 (ศึกษาเพิ่มเติมและทำต่อให้)
วิทยากร : อาจารย์ลัลน์ลลิต สืบประดิษฐ์ ช่วงบ่าย เวลา 13.00-15.30 น.
เนื้อหาสาระโดยสังเขป
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม แบบ E –Learning /ทักษะศตวรรษที่ 21 /ทฤษฎีการเรียนรู้
2. การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน เช่น
- การใช้แอฟของ Google เช่น การทำงานร่วมกันของผู้เรียนและผ้สอน
- การติดต่อสื่อสาร/แลกเปลี่ยน/ชุมชนการเรียนรู้ เช่น
- Google Hangouts
- padlet (เป็นแอฟของกูเกิล ผู้เรียนสามารถนำเสนอความคิดเห็น)
- G+ (Google Plus ใช้เหมือนกับเฟซบุ้ค ใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียน ใช้คำว่าชุมชนการเรียนรู้ )
- Google Classroom (สามารถใช้ในการเรียนการสอน ที่เพิ่มผู้เรียนได้ถึง 250 คน สามารถแนบ เอกสาร Google from ใบงาน แบบฝึกหัด ส่งวิดีโอ เป็นต้น )
- การนำเสนอผลงานของผู้เรียน หรือ ผู้สอน ได้ ร่วมกันอภิปรายความคิดเห็น
3. การผลิตและเลือกใช้นวัตกรรมเพื่อการสอน ขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหา/ความต้องการ/ความจำเป็นในการจัดการเรียนการสอน
- ประเมินความต้องการ
- วิเคราะห์เป้าหมายการจัดการเรียนการสอน
2. วิเคราะห์ผู้ลักษณะเรียน
- อายุ บุคลิกภาพ รูปแบบการเรียน
- ความรู้/ความสามารถในการใช้สื่อ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. วิเคราะห์เนื้อหา
4. วิเคราะห์วัตถุประสงค์
5. วิเคราะห์รูปแบบและกลยุทธ์
6. เลือกและออกแบบผลิตสื่อการสอน(สื่อเดิม/การออกแบบและผลิตใหม่)
7. ประเมินผลการเรียน
- ระหว่างการเตรียมการสอน เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
- หลังการเรียนการสอน แบบทดสอบ
- การติดตามผลหลังเรียนไปแล้วระยะหนึ่ง แบบสอบถาม สัมภาษณ์
8. ประเมินประสิทธิภาพสื่อตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีคุณภาพ (ทดลองใช้สื่อ 1:1 กลุ่มเล็ก ภาคสนาม)
4. กระบวนการเลือกและใช้สื่อการเรียนการสอน (ใช้ทฤษฎีระบบ Input Process Output )
5. ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้เข้าอบรมสามารถเข้าเว็บไซต์ สวทช. เพื่อดาวน์โหลดและสามาถนำสื่อมาใช้ได้ประกอบการเรียนการสอน
วิทยากร : ผอ.สุรศักดิ์ เกลี้ยงสะอาด ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ช่วงบ่าย เวลา 15.30-17.00 น.
เนื้อหาสาระโดยสังเขป
1. ให้ดูวิดีโอคนค้นคน :การสู้ของนายเอกชัย ชายผู้พิการ ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา“ถ้าใจสู้ไม่มีคำว่าแพ้”
2. ทบทวนความรู้เดิม
- ทบทวนหลักเกณฑ์วิทยฐานะ ว17
- ทบทวนการยื่นคำขอวิทยฐานะ ตาม ว17
- ทบทวนคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการส่งผลงาน ว17 และ ว21
3. การพัฒนาวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์ฯแนวใหม่ ว21/2560
คุณสมบัติของผู้ยื่นขอ ข้อ 1-4 นับตามปีปฏิทิน
1. การดำรงตำแหน่งปัจจุบัน
2. จำนวนชั่วโมงการปฏิบัติงาน
1. รายงานภาระงานสอน ชั่วโมงการสอนตามตารางสอน (ชม./สัปดาห์)
2. งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ เช่น งานวิชาการ งานบุคคล งานงบประมาณ งานบริหารทั่วไป งานกิจการนักเรียน
3.งานสนองตามนโยบายและจุดเน้น เช่น ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนสุจริต โรงเรียนมาตรฐานสากล ฯลฯ
4. PLC ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง
3. วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
4 การพัฒนาตามเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด (ว22/2560) การนับถึงวันที่ยื่นวันขอ เช่นต้องการยื่นคำขอวันที่ 1 กันยายน 2561 รอบอบรมให้นับคือ 1 กันยายน 2560– 1 กันยายน 2561
ข้อ 5 ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษาติดต่อกัน (นับตามปีการศึกษา)
ประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด
** ถ้าส่งผลงานระยะเวลาปีปัจจุบัน(พ.ศ.2561) ปีการศึกษา 2556-2560 มีเวลาเตรียมถึง 15 พ.ค.2562 **รวบรวมผลงาน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัดเป็นรายปีการศึกษา แต่ปี 2556-2559 ประเมินรวบยอด แต่ปีการศึกษา 2560 ประเมินเป็นรายปีปกติ
4. กระบวนการการบันทึก Logbook ทบทวน การตั้งชื่อไฟล์ การกรอกข้อมูล
5. การแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูล ผอ.เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้อำนวยการสถานศึกษา ประเมินไม่ได้ มาตรา 13
6. การดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่าน
- ข้อปฏิบัติผู้เปลี่ยนผ่านสำหรับผู้ที่จะส่ง ว21 ปีการศึกษา 2556-2560 ตามตัวอย่างใน PowerPoint ข้อมูลตามเกณฑ์ ว21/2560 ก่อน 5 ก.ค.2560
- ** ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม **
7. การเตรียมการในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
ครูเตรียมผลการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป แต่ละปีต้องเตรียม
-แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (วฐ.2)
-แบบบันทึกการประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด
-เอกสารหลักฐาน ตามรายตัวชี้วัด 13 ตัวชี้วัด
- PLC (ปีละไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง)
- การอบรมพัฒนาตาม ว22/2560 (ปีละ 12-20ชั่วโมง)
- Logbook Teacher + เอกสารหลักฐานประกอบ(รหัสเอกสาร)
**** ยื่นขอรับการประเมิน เมื่อสิ้นปีการศึกษา (15 พ.ค.)***
วันที่ยื่นคำขอ (คุณสมบัติครบทั้ง 5 ด้าน)
แบบคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ(วฐ.1) พร้อมแนบ
* สำเนา กพ.7
* ตารางสอน คำสั่งมอบหมายงานสอน (ย้อนหลัง 5 ปี)
* เอกสารอ้างอิง ชั่วโมงสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
* เอกสารอ้างอิง ชั่วโมงนโยบายและจุดเน้น
* เอกสารอ้างอิง การมีส่วนร่วมชุมชนการเรียนรู้ (PLC)
* เอกสารการอบรมพัฒนา (ย้อนหลัง 5 ปี)
ครูเตรียม/ ผอ.ประเมิน
* แบบรายงานผลการปฏิบัติงานฯ (วฐ.2) ( 5 ปีการศึกษา)
* -แบบบันทึกการประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด
-เอกสารหลักฐาน ตามรายตัวชี้วัด 13 ตัวชี้วัด
- PLC (ปีละไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง)
- การอบรมพัฒนาตาม ว22/2560 (ปีละ 12-20ชั่วโมง)
- Logbook Teacher + เอกสารหลักฐานประกอบ(รหัสเอกสาร)
ผู้อำนวยการสถานศึกษา ประเมิน
* แบบสรุปผลการประเมินผลงานย้อนหลัง 5 ปี (วฐ.3) ส่งเขตพื้นที่
นำผลการประเมินรายปี (วฐ.2) มาบันทึก
* Logbook ที่ครูส่ง
วิทยากร : ผอ.ปรีชา ปัญญานฤพล /อ.ดารุณี สุวรรณชาตรี ช่วงค่ำ เวลา 19.00-21.00 น.
เนื้อหาสาระโดยสังเขป
1. การสร้างเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพ
- การสร้างสัมพันธภาพ / สร้างเครือข่าย
- ให้ทำกิจกรรม กลุ่มที่ 1. บอกคุณลักษณะ/คุณสมบัติ ผอ.ที่ต้องการ
เช่น มีความรับผิดชอบ มีกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ ภาวะความเป็นผู้นำ
กลุ่มที่ 2. บอกคุณลักษณะ/คุณสมบัติ ผอ.ที่ไม่ต้องการ
เช่น ไม่ยุติธรรม โกง โกหก ไม่รับผิดชอบ
กลุ่มที่ 3. นั่งฟังเฉยๆ
- ให้ทำกิจกรรมที่ 2 แบ่งกลุ่มตามวันเกิดแล้ว และทำนายตามวันเกิด เพื่อรวมกลุ่ม PLC
- ให้ทำกิจกรรมที่ 3 บอกสุภาษิตที่มีสัตว์ 4 เท้า กติกา นับเวลา 5 วินาที
2. ชี้แจงการทำ PLC (รายละเอียดจะเจาะลึกช่วงบ่ายวันที่ 30 กรกฎาคม 2561)
3. ทักษะ ความรู้ ความชำนาญของครูตามวิทยฐานะ
วันที่จันทร์ ที่ 30 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561
วิทยากร : นายอำนวย สุวรรณชาตรี ช่วงเช้า เวลา 08.30-10.45 น.
เนื้อหาสาระโดยสังเขป ประเด็น/หัวข้อ แนวทางการเขียนรายงานการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ครู
1. ให้ดูวิดีโอการประชาสัมพันธ์โครงการอบรมคูปองครู
“ครูอาจจะไม่ใช่อาชีพที่ดีที่สุด แต่ทุกคนได้ดีเพราะอาชีพครู”
พระบรมราโชวาทของในหลวง เป็นครูใช่ไหม ช่วยดูแลให้เขาเป็นคนดี พัฒนาครูให้มีจิตวิญญาณความเป็นครู ให้รักเด็ก เพื่อพัฒนาให้เขามีคุณภาพ
ทบทวน แนวปฏิบัติในการจัดทำ/จัดเอกสาร /หลักฐานประกอบตาม ว21/2560
1. แบบคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ(วฐ.1) ทำรูปเล่ม มีเอกสารภาคผนวกพร้อมแนบ
(ครูชำนาญการ/ครูชำนาญการพิเศษ จำนวน 2 เล่ม)
* สำเนา กพ.7
* ตารางสอน คำสั่งมอบหมายงานสอน (ย้อนหลัง 5 ปี)
* เอกสารอ้างอิง ชั่วโมงสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
* เอกสารอ้างอิง ชั่วโมงนโยบายและจุดเน้น
* เอกสารอ้างอิง การมีส่วนร่วมชุมชนการเรียนรู้ (PLC)
* เอกสารการอบรมพัฒนา (ย้อนหลัง 5 ปี)
2. แบบรายงานผลการปฏิบัติงานฯ (วฐ.2) ( 5 ปีการศึกษา)
* แบบบันทึกการประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด
* เอกสารหลักฐาน ตามรายตัวชี้วัด 13 ตัวชี้วัด
* PLC (ปีละไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง)
* การอบรมพัฒนาตาม ว22/2560 (ปีละ 12-20ชั่วโมง)
* Logbook Teacher + เอกสารหลักฐานประกอบ(รหัสเอกสาร)
2. แนวทางการประเมิน (** การดำเนินการและวิธีการประเมิน ยึดตามเกณฑ์คู่มือการประเมิน
ว22/2560) องค์ประกอบการพัฒนาครูจะต้องมี
แบบคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ(วฐ.1) พร้อมแนบ
* สำเนา กพ.7
* ตารางสอน คำสั่งมอบหมายงานสอน (ย้อนหลัง 5 ปี)
* เอกสารอ้างอิง ชั่วโมงสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
* เอกสารอ้างอิง ชั่วโมงนโยบายและจุดเน้น
* เอกสารอ้างอิง การมีส่วนร่วมชุมชนการเรียนรู้ (PLC)
* เอกสารการอบรมพัฒนา (ย้อนหลัง 5 ปี)
ครูเตรียม/ ผอ.ประเมิน
แบบรายงานผลการปฏิบัติงานฯ (วฐ.2) ( 5 ปีการศึกษา)
* -แบบบันทึกการประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด
-เอกสารหลักฐาน ตามรายตัวชี้วัด 13 ตัวชี้วัด
- PLC (ปีละไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง)
- การอบรมพัฒนาตาม ว22/2560 (ปีละ 12-20ชั่วโมง)
- Logbook Teacher + เอกสารหลักฐานประกอบ(รหัสเอกสาร)
3. การพัฒนาครูทุกหลักสูตรตามโครงการคูปองครูจะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้ จึงจะผ่าน
4. แนวทางการประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน
1.1 การพัฒนาหลักสูตร : มีการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร
1.2 การจัดการเรียนรู้
1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ : วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด วิเคราะห์ผู้เรียน
1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ : จัดทำแผนจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับผู้เรียน มีการปรับปรุงและพัฒนา
1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ : เน้นกิจกรรม Active Learning ลงมือปฏิบัติจริง บริหารเวลาให้มี Active Learning สอดคล้องกับคุณภาพผู้เรียน ทักษะตามศตวรรษที่ 21
1.2.4 คุณภาพผู้เรียน : คุณภาพผ่านตามเป้าหมายร้อยละ...
1.3 การสร้างและพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้
1.4 การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ : มีการวัดผลตามสภาพจริงของผู้เรียน
1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : งานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหานักเรียน ไม่ใช่วิจัยผลงานวิชาการ
ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน
2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน : การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน การดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ให้โอกาสและเติมกำลังใจให้นักเรียนเสมอ
2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน : เอกสารการดูแลนักเรียน การเยี่ยมบ้าน
2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา : เอกสารประจำวิชา ปพ.5
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ
3.1 การพัฒนาตนเอง : มี ID Plan และเข้าร่วมการพัฒนาตนเองตามโครงการพัฒนาครูระบบคูปองครู ว22/2560
3.2 การพัฒนาวิชาชีพ : มีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC มีนวัตกรรมทางการเรียนรู้แก้ปัญหา ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือ หมายถึง ต้องเปิดใจ
ศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม กล่าวถึงการนำ PLC ไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา 11 ขั้นตอน
1. เสนอปัญหา
2. คัดเลือกปัญหา
3. หาสาเหตุการแก้ปัญหา
4. ช่วยกันคิดหาแนวทางแก้ปัญหา
5. เลือกวิธีการแก้ปัญหา
6. กำหนดวิธีการปฏิบัติ
7. นำไปทดลองใช้
8. เก็บข้อมูล
9. ปรับปรุง ทำ AAR
10. สรุปผล
11. เผยแพร่
วิทยากร : นายอภิเชษฐ ปรางสุวรรณ ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนสะทิงพระ ช่วงเช้า เวลา 11.00-12.00 น.
เนื้อหาสาระโดยสังเขป
1. ความก้าวหน้าในวิชาชีพครู สู่ครูมืออาชีพ
“งานของครูเป็นงานพิเศษผิดแปลกกว่างานอื่น...ต้องใช้ความอดทน” ครู วิชาชีพชั้นสูง
มาตรฐานวิชาชีพ : การประกอบวิชาชีพ มาตรฐานความรู้ 9 ข้อ และประสบการณ์วิชาชีพ 2 ข้อ
มาตรฐานการปฏิบัติงาน 12 ข้อ มาตรฐานการปฏิบัติตน 9 ข้อ (จรรยาบรรณของวิชาชีพ)
2. ครูจะต้องเป็นครูมืออาชีพ ความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
- ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ
- คุณลักษณะที่คาดหวังแต่ระดับของวิทยฐานะไม่เหมือนกัน
3. เส้นทางความก้าวหน้าของวิชาชีพครูจะต้องทำตามมาตรฐานตัวชี้วัด
แผนงานหลัก อย่างน้อย 2 ประการ * แผนการจัดการเรียน + นวัตกรรม
4. ตัวอย่าง นวัตกรรมขับเคลื่อนแผนการเรียนรู้ เช่น นวัตกรรมนิยาย เรื่อง เศรษฐศาสตร์ เอกสารประกอบการเรียนการสอนเชิงนวนิยาย วิชาเศรษฐศาสตร์พอเพียง
วิทยากร : ผอ.ปรีชา ปัญญานฤพล ช่วงบ่าย เวลา 13.00-15.00 น.
เนื้อหาสาระโดยสังเขป
1. ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC ครูมืออาชีพ : จะต้องเก่ง อย่าจับเด็กเป็นตัวประกัน
2. ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม PLC ตามใบงานที่ 1-4
3. ร่วมกิจกรรมสัมพันธ์แยกกลุ่มเป็นวันเกิด
4. การสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC
หลักสูตรอบรมเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาครูคณิตศาสตร์สู่ยุค Education 4.0
1. เนื้อหาสาระโดยสังเขป
1.ความรู้ด้านวิธีการสอน : การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน การจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ รูปแบบการเรียนรู้แบบ Bar Model
2.ความรู้ด้านเทคโนโลยีการสอน : การนำสื่อเทคโนโลยี โปรแกรมการสอนในรูปสื่อดิจิตัล แอพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา สื่อสังคมออนไลน์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในยุค 4.0
3.ความรู้ด้านเนื้อหาวิชาที่สอน : เนื้อหาคณิตศาสตร์และเทคนิคลัดทางคณิตศาสตร์ ฝึกวิเคราะห์เนื้อหา O-NET ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
4.การบูรณาการความรู้การนำเทคโนโลยี สื่อการสอน สื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวิธีการสอนหรือเทคนิคการสอน และเนื้อหาสาระที่สอนสู่ยุค Education 4.0 : ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
5.การพัฒนาสมรรถนะครูผ่านชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) การนำมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 สู่การปฏิบัติ และสะท้อนคิดผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
6.ตอบคำถามข้อสงสัย ประเด็นปัญหา เสนอปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา
การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ มีทักษะการประยุกต์ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งเรียนรู้ และแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นข้อสนเทศและอนุทินในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน รูปแบบการเรียนรู้แบบ Bar Model และการนำโปรแกรมการสอนในรูปสื่อดิจิตัล แอพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา สื่อสังคมออนไลน์ จากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ อาทิ
โหลดใช้ได้ที่ https://www.plickers.com
โหลดใช้ได้ที่ https://www.socrative.com
โหลดใช้ได้ที่ https://www.zipgrade.com
โหลดใช้ได้ที่ https://www.classdojo.com
โหลดใช้ได้ที่ https://web.seesaw.me
โหลดใช้ได้ที่ https://prezi.com
แหล่งการเรียนรู้
http://taamkru.com/th/ห้องเรียนกลับด้าน-ขานรับความคิดใหม่-1
http://taamkru.com/th/ห้องเรียนกลับด้าน-ขานรับความคิดใหม่-2 http://taamkru.com/th/ห้องเรียนกลับด้าน-ขานรับความคิดใหม่-3
https://www.scbfoundation.com/stocks/c1/file/13782013511lnn3c1.pdf http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)